MeeStang
การเงินน่ารู้

นิติบุคคลที่ขายออนไลน์จะเสียภาษีอย่างไร

มีคำถามว่า พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ดำเนินการธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลที่ขายของออนไลน์จะเสียภาษีอย่างไร?

ภาษีออนไลน์
ภาษีนิติบุคคลขายของออนไลน์คืออะไร

ภาษีที่จัดเก็บจากร้านค้าที่จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด และห้างหุ้นส่วนสามัญ มีฐานะเป็นนิติบุคคล กรณีมีรายได้จากการขายของออนไลน์ จะต้องเสียภาษีโดยหักจากค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น เจ้าของร้านต้องเก็บหลักฐานค่าใช้จ่ายต่างๆ และจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นตรวจสอบภาษีด้วย

นิติบุคคลต้องยื่นภาษีเมื่อไหร่

สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท มีฐานะเป็นนิติบุคคล จะต้องทำการยื่นเสียภาษีปีละ 2 รอบ คือ ภ.ง.ด. 51 และ ภ.ง.ด. 50

  • ภ.ง.ด. 51 (ยื่นภาษีครึ่งปี)

จะยื่นภาษีในช่วงกรกฎาคม – สิงหาคมของทุกปี จะต้องสรุปรวมรายได้ทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน มาแสดงยื่นในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 51 ภายในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน

  • ภ.ง.ด. 50 (ยื่นภาษีสิ้นปี)

จะยื่นภาษีในช่วงพฤษภาคมของทุกปี เป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นทั้งตลอดปี และยื่นแสดงในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 50 ซึ่งจะต้องทำการยื่นภายในเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป เช่น รายได้ทั้งหมดของปี 2566 จะต้องสรุปและยื่นภายในเดือนพฤษภาคม ปี 2567

นิติบุคคลขายของออนไลน์เสียภาษีเท่าไร

กรณี ดำเนินกิจการค้าออนไลน์ในรูปแบบนิติบุคคลนั้น มีภาระภาษีดังนี้

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

การคำนวณภาษีเงินได้ของนิติบุคคล จะเริ่มจากหากำไรสุทธิ ดังนี้

รายได้ – ค่าใช้จ่าย = กำไรสุทธิ

จากนั้นนำกำไรสุทธิไปคำนวณภาษี ดังนี้

1. กรณีนิติบุคคลทั่วไป เสียภาษีฯ อัตรา 20% จากฐานกำไรสุทธิ
2. กรณีนิติบุคคล SME (ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ตลอดปีภาษีไม่เคยเกินกว่า 30 ล้านบาท) เสียภาษีแบบขั้นบันไดด้วยอัตราดังนี้
• กำไรสุทธิส่วน 1 -300,000 บาท ได้รับยกเว้น
• กำไรสุทธิส่วน 300,001 -3,000,000 บาท เสียอัตรา 15%
• กำไรสุทธิส่วนเกินกว่า 3,000,000 บาท เสียอัตรา 20%

ภาษีออนไลน์

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีที่มีรายได้ในปีภาษี เกินกว่า 1,800,000 บาท ในเดือนใดของปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่มีรายได้เกิน 1,800,000 บาท และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% จากรายได้ส่วนที่เกินกว่า 1,800,000 บาทนี้เป็นต้นไป

เอกสารในการยื่นภาษีขายของออนไลน์

สำหรับการยื่นภาษีออนไลน์ของนิติบุคคล มีเอกสารที่ต้องจัดเตรียมไว้ในพร้อม ดังนี้

  • แบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 51 / แบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 50
  • เอกสารหลักฐานแสดงรายได้ เช่น หนังสือรับรองเงินเดือนจากนายจ้าง ตามมาตรา 50 ทวิ
  • เอกสารงบการเงิน เช่น
    • งบกำไรขาดทุน
    • งบแสดงฐานะการเงิน
    • งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ
    • หมายเหตุประกอบงบการเงิน
    • รายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

ยื่นภาษีขายของออนไลน์ได้ที่ไหนบ้าง

  • ยื่นภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร

กรอกแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. แล้วจัดเตรียมเอกสารยื่นภาษีที่เกี่ยวข้อง เดินทางไปยื่นภาษีด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทุกพื้นที่ ในวันและเวลาราชการ

  • ยื่นภาษีผ่านช่องทางออนไลน์

เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร (www.rd.go.th) สามารถใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

Related posts

10 วิธีดูทองคำแท้ ทองคำปลอม ด้วยตนเอง

Guru Stang

น้ำหนักมาตรฐานทองคำแท่งและทองคำรูปพรรณ

Guru Stang

สามีภรรยา คู่สมรส ควรยื่นภาษีรวมกันหรือแยกกัน แบบไหนดีกว่า?

Guru Stang